• + 66 2236 7916-17
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Krittika Panprasert

กฤติกา ปั้นประเสริฐ

Krittika Panprasert
ผู้อำนวยการกองสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรมศุลกากร

วิทยากร สมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชนแห่งประเทศไทย

 

งานปัจจุบัน

  • ผู้อำนวยการกองสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรมศุลกากร

งานในอดีต

  • พ.ศ. 2555-2561 ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมายศุลกากร ระดับ 9 ชช. อายุราชการ 27 ปี
  • พ.ศ. 2551 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมายศุลกากร(นิติกร 9 ชช.)
  • พ.ศ. 2545 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนกฎหมายต่างประเทศ (นิติกร 8 ว)
  • พ.ศ. 2543 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านคดี (นิติกร 8 ว)
  • พ.ศ. 2540 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นิติกร 7
  • พ.ศ. 2536 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง สารวัตรศุลกากร 6
  • พ.ศ. 2528 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ประเมินอากร 3


การศึกษา วุฒิบัตรการอบรม และรางวัล

  • ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมาย พ.ศ.2546 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มหาชน)(รุ่นที่ 5)
  • ประกาศนียบัตรนักกฎหมายภาครัฐ พ.ศ.2550 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (รุ่นที่ 1)
  • Mini Master of Management พ.ศ.2548 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ Program (Mini MBA) (รุ่นที่ 34)
  • นิติศาสตร์บัณฑิต พ.ศ.2527 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นิติศาสตร์มหาบัณฑิต (กฎหมายธุรกิจ) พ.ศ.2534 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • LLM in International (Maritime) Law พ.ศ.2545 International Maritime law Institute, University of Malta, Malta

 

ประวัติการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ อาจารย์ผู้สอนวิทยานิพนธ์

ผลงาน และความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ :

  • นายพิพัฒน์ จันทร์เมฆา, 2545, มาตรการศุลกากรของอาเซียน สำหรับการขนส่งสินค้าผ่านแดน ศึกษาเฉพาะกรณีการขนส่งทางบก ของประเทศในกลุ่มอินโดจีน, นิติศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นายสงบ สิทธิเดช, 2547, กระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารจัดการสารเคมีที่มีผลกระทบต่กสังคมและสิ่งแวดล้อมตามข้อตกลงพายุ ภาคีด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทของกรมศุลกากร, รัฐประสาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • นายประจักษ์ จันทร์ทิม, 2539, แนวทางปรับปรุงแก้ไขกฎหมายศุลกากรเพื่อส่งเสริมการส่งออก : ศึกษากรณีคืนอากรของสินค้าที่ ผลิตเพื่อส่งออก, นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • นายบุญล้อม ศุภานุสนธ์, 2548, ปัญหาทางกฎหมายของการส่งออกกล้วยไม้ไทย, 2548, เอกัตศึกษากฎหมายเศรษฐกิจและธุรกิจ หลักสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • น.ส.จงรัก เมธาวรกุล, 2549, บทบาทและสถานะภาพของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตามกฎหมายไทย, นิติศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นิสิตของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกหลายคน ทั้งในหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตและ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

 

ผลงาน/ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ (บางส่วน)

  • ได้ยกร่างกฎหมายและร่วมยกร่างกฎหมายศุลกากรหลายครั้ง เพื่อพัฒนากฎหมายศุลกากรให้เป็นไปตามความเปลี่ยนแปลงทางการค้าระหว่างประเทศ พันธกรณีระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาเกียวโตและโลกภิวัฒน์ (Globalization) เช่น กฎหมาย ศุลกากรว่าด้วยเขตปลอดอากร (Free Zone), Advanced Binding Ruling, Single goods Declaration, Outward Processing, De minimis และ Transit and Transphipment เป็นต้น
  • ให้ความเห็นทางกฎหมาย คัดค้าน ความเห็นของกรมศุลกากร และส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความแล้ว เห็นด้วยกับความเห็นของนางกฤติกา ปั้นประเสริฐ จำนวน 2 เรื่อง
  • ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้แทนกรมศุลกากรเพื่อร่วมเป็นคณะอนุกรรมการดำเนินการตามโครงการศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนากฎหมายไทย เพื่ออนุวัติการตามกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยทะเล
  • ได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรรมการและเลขานุการของกรมศุลกากรตามโครงการรวมกฎหมายเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน (Compilation) ตามมติคณะรัฐมนตรี
  • ได้รับการมอบหมายให้เป็นผู้แทนกรมศุลกากรเพื่อชี้แจงและ/หรือให้ความเห็นทางกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ปีละประมาณ 30 เรื่อง เป็นต้น
  • ได้รับการมอบหมายให้เป็นหัวหน้าทีมในการเจรจาระหว่างประเทศ เพื่อการจัดทำเขตการค้าเสรี 3 กรอบ และเจรจาระหว่างประเทศในเรื่องต่างๆ เช่น พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย และการระงับข้อพิพาทในระดับ WTO เป็นต้น

 

 

ผลงานทางวิชาการ :

  • บทความในวารสาร
    • กฤติกา ปั้นประเสริฐ, 2549, “บทบาทของศุลกากรกับการค้าระหว่างประเทศ วารสารกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ, 2549, หน้า 298 - 312
    • กฤติกา ปั้นประเสริฐ, 2549, “หน้าที่บางอย่างของผู้ประกอบการตามกฎหมายศุลกากร , วารสาร Tax and Business Magazine ปีที่ 13 เล่มที่ 146 (พฤศจิกายน 2549) หน้า 109 – 110
    • กฤติกา ปั้นประเสริฐ, 2550, เขตปลอดอากร VS เขตอุตสาหกรรมส่งออก ความเหมือนที่แตกต่าง ,วารสาร Tax and Business Review, July 2007 , หน้า 60-64
    • ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา เป็นผู้เขียนประจำนิตยสาร Tax&Business Review (E-magazine) เดือนละ 1 เรื่อง
    • กฤติกา ปั้นประเสริฐ, 2547, Logistics ในแง่มุมของศุลกากร , จุลสารศุลกากร ปีที่ 12 ฉบับที่ 10(ตุลาคม 2547) หน้า 12-13
  • งานแต่ง เรียบเรียง แปลตำรา
    • กฤติกา ปั้นประเสริฐ ชื่อเอกสาร เอกสารประกอบการบรรยายวิชากฎหมายศุลกากร (LW 414) หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 200 หน้า
    • กฤติกา ปั้นประเสริฐ ชื่อเอกสาร รายละเอียดชุดวิชา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศและการลงทุน (หน่วยที่ 6) ว่าด้วยกฎหมายศุลกากรกับการค้าระหว่างประเทศ หลักสูตรปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปี 2552
  • ประสบการณ์ด้านการสอน (อาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ)
    • ปริญญาตรี เป็นเวลา 10 ปี ปริญญาโท เป็นเวลา 6 ปี
  • ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ๆ
    • ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายหลายฉบับ เช่น ร่าง พ.ร.บ.ศุลกากร (เขตปลอดอากร) ร่าง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต ร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ร่างพระราชบัญญัติคุ้มการดำเนินงานของธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย
    • ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการที่ปรึกษาของวิทยาลัยการยุติธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรมในหลักสูตร ผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง(บ.ย.ส.) รุ่นที่ 9 ของ นายชูชาติ อัศวโรจน์ สำหรับเอกสารวิชาการส่วนบุคคล เรื่อง การออกกฎหมายอนุวัตรการ ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งมาเลเซีย ว่าด้วยธรรมนูญและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดตั้งองค์กรร่วมไทย มาเลเซีย ในส่วนที่เกี่ยวกับศุลกากรของประเทศไทย และข้อวิเคราะห์ (พ.ศ.2549)
    • ได้รับเชิญเป็นวิทยากรของกรมศุลกากรในหลักสูตรต่าง ๆ เช่น ตัวแทนออกของ (Customs Broker) หลักสูตรความรู้ เบื้องต้น เกี่ยวกับอนุสัญญาเกียวโต และอนุสัญญาอิสตันบูล หลักสูตรการสัมมนานิติกรสังกัดกรมศุลกากร ตลอดจนเป็นวิทยากรอบรมเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่เข้าใหม่ ฯลฯ เป็นต้น
    • ได้รับเชิญเป็นวิทยากรให้แก่หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เช่น สถานทูตอเมริกา สถานทูตสวีเดนศาลภาษีอากรกลาง มหาวิทยาลัยต่างๆ สมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชนฯ ปปง. บริษัทDeloitte Toude Tohmatsu บริษัท กฎหมายซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สถาบันอบรมวิชาชีพบัญชีและภาษีอากรพูนผล
    • ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวจสอบผลงานทางวิชาการของข้าราชการกรมศุลกากร ระดับ นิติกร 6 ว นิติกร 7 ว (จำนวนมาก)
    • ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรและผู้ดำเนินรายการในการสัมมนาหัวข้อ “การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ China  India ความท้าทายต่อ Logistice & Supphy Chain ของไทย จัดโดยบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง
    • ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรในรายการ “คิดลึกกับหอการค้า” ออกอากาศทาง True Vision ช่อง 08(TNN 2) จัดโดยคณะกรรมการสื่อสารองค์กรหอการค้าไทย ร่วมกับ True Vision (ปี 2551) เป็นต้น

© 2024 Purchasing and Supply Chain Management Association of Thailand
คำประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชนแห่งประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562